richwave_logo

อุปกรณ์วิทยุสื่อสารที่เรียกว่า CB คืออะไร ชวนทำความรู้จักก่อนซื้อ?

อุปกรณ์วิทยุสื่อสารที่เรียกว่า CB คืออะไร ชวนทำความรู้จักก่อนซื้อ?

เครื่องข่ายอุปกรณ์วิทยุสื่อสารมีหลากหลายคลื่นความถี่ ซึ่งแบ่งการใช้งานที่อนุญาตสำหรับประชาชนทั่วไปและสำหรับใช้ในราชการ ช่วงความถี่จึงแตกต่างกัน และหนึ่งในการใช้งานที่ได้รับความนิยมคือวิทยุสื่อสารที่เรียกว่า CB เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่บุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้ ใครที่เป็นมือใหม่ ควรทำความรู้ก่อนตัดสินใจซื้อมาใช้งาน เพื่อป้องกันความผิดพลาด

อุปกรณ์วิทยุสื่อสาร CB คืออะไร?

CB คือตัวย่อของวิทยุสื่อสารที่ใช้งานสำหรับประชาชนทั่วไป มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า CITIZEN BAND ซึ่งคลื่นความถี่ที่สามารถใช้งานได้ทั่วไป โดยมีคุณลักษณะดังนี้

  1. ใช้เพื่องานธุรกิจได้ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป
  2. คลื่นความถี่ที่ใช้คือ 245MHz มีประสิทธิภาพในการกระจายคลื่นได้ไกล จึงได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลาย
  3. การรับและส่งสัญญาณทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชัดเจน และสามารถทะลุผ่านกำแพง กระจก อาคารบ้าน ชั้นใต้ดิน หรือลิฟท์ได้
  4. ใช้การปรับกำลังส่งได้ 2-3 ระดับ ยิ่งติดตั้งเสาอากาศจากพื้นดินสูง ยิ่งช่วยให้การส่งสัญญาณได้ไกลขึ้นไปอีก ซึ่งปกติจะอนุญาตให้สามารถตั้งเสาอากาศได้สูงถึง 60 เมตร คลื่นความถี่ส่งไกลได้หลายสิบกิโล
  5. อุปกรณ์วิทยุสื่อสาร CB 245 MHz. เป็นเครื่องที่ใช้งานได้ดี ออกแบบมาเพื่อเน้นการส่งสัญญาณได้ไกล ชัดเจน และที่สำคัญคือถูกต้องตามกฎหมาย
  6. ด้วยประสิทธิภาพของตัวเครื่อง กับราคา ถือว่าคุ้มค่า ราคาย่อมเยาว์ สามารถใช้งานได้ในกลุ่มบุคคลทั่วไป โดยมีช่องความถี่ให้เลือกสูงสุด 80 ช่องหลัก โดยมีกำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ สำหรับภาคเครื่องส่ง

การซื้อและวิธีการใช้งานวิทยุสื่อสาร CB ให้ถูกต้อง

สามารถเลือกซื้ออุปกรณ์วิทยุสื่อสาร CB ได้จากร้านค้าที่เป็นแหล่งจำหน่ายได้ทั่วไป อย่างไรก็ตามจะต้องมีการขอใบอนุญาตสำหรับมีเครื่อง และสำหรับใช้เครื่องได้ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ยกเว้นกรณีที่เครื่องมีกำลังส่งต่ำว่า 500 มิลลิวัตต์ ถือว่าได้รับการยกเว้น ไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาต

ส่วนการใช้งานเครื่องวิทยุ CB นั้น มีหลักสำคัญ ดังนี้

  1. เนื่องจากการใช้งานสำหรับบุคคลทั่วไปอยู่แล้ว ถือว่าเป็นวิทยุที่ใช้ได้อย่างอิสระ โดยนิยมนำไปใช้สำหรับการประสานงาน ทำให้มีช่องไม่เพียงพอ เพราะปริมาณผู้ใช้เป็นจำนวนมาก
  2. วิธีแก้ไขการใช้ก็คือ “แบ่งช่องความถี่” ด้วยกันสำหรับใช้งาน ไม่สามารถล็อคการเป็นเจ้าของช่องความถี่ได้ ดังนั้นจึงไม่มีความเป็น “ส่วนตัว”
  3. กรณีด้านบนที่เกิดขึ้น เมื่อมีผู้ใช้คลื่นความถี่ใดอยู่ จะไม่สามารถขับไล่ออกไปได้ และไม่สามารถแย่งช่องผู้อื่นที่กำลังใช้งานอยู่ได้
  4. ในการเลือกช่องวิทยุ CB จะต้องค้นหาจากช่องที่ว่างอยู่ กรณีไม่มีช่องว่าง จำเป็นต้องรอจนกว่าผู้อื่นจะใช้งานช่องเสร็จแล้ว

ด้วยการใช้งานที่เป็นอิสระสูงของอุปกรณ์วิทยุสื่อสารแบบ CB ผู้ใช้งานจะต้องรู้ด้วยตัวเองว่าต้องแบ่งช่องให้กันใช้ สามารถรอ และใช้งานอย่างมีมารยาท เป็นตัวช่วยที่ดี ทำให้สังคมของคลื่นความถี่นี้มีคุณภาพ และเป็นสังคมที่น่าอยู่