การกำเนิด วิทยุสื่อสารสมัครเล่น มีมาอย่างยาวนาน จุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 ที่ใช้ในการค้นคว้าส่วนพระองค์ของพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ที่ได้มีการนำมาใช้ภายในกองช่างวิทยุ ของไปรษณีย์โทรเลข ใช้สำหรับการทดลอง เพื่อส่งวิทยุแบบความถี่สูง และติดต่อกับสถานีวิทยุสมัครเล่น จากทั้งในและต่างประเทศ สู่ปัจจุบันที่กลายเป็นช่องทางการติดต่อและสื่อสาร ด้านการศึกษา การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การส่งเสริมในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คนทั่วไป ซึ่งถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการใช้งานวิทยุสมัครเล่น ขอแนะนำเรื่องน่ารู้ต่อไปนี้
- การจัดตั้งและเป็นนักวิทยุสื่อสารสมัครเล่น ต้องผ่านการสอบขั้นต้น และการทำแบบฟอร์มหนังสือรับรองสถานะการเป็นสมาชิกสมาคมก่อนเท่านั้น
- ผู้ที่ต้องการเป็นนักวิทยุสมัครเล่น จะต้องผ่านการตรวจสอบ และกำกับดูแลจาก กสทช เท่านั้น
- การมีกิจการวิทยุสมัครเล่น จะต้องเป็นไปในแนวทางสร้างประโยชน์ แจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน การพัฒนาความรู้ความสามารถ การฝึกฝน หรือการเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไป
- การใช้ วิทยุสื่อสารสมัครเล่น สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ด้านการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ด้วยการจัดทำช่องเพื่อแพร่หลายไปสู่วงการวิทยุระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี
- ผู้ที่จะสามารถเข้าเป็นนักวิทยุสมัครเล่นได้ จะต้องมีสัญชาติไทยและมีคุณสมบัติตรงตามกำหนดของ กสทช
- ข้อห้ามสำคัญ คือ การใช้วิทยุสมัครเล่นที่ต้องไม่ติดต่อไปยังประเทศที่ไม่ได้รับอนุญาตเด็ดขาด
- ห้ามการใช้รหัสลับใด ๆ เพื่อการติดต่อสื่อสารออกไปนอกประเทศ และต้องระมัดระวังรหัสที่อาจกลายเป็นรหัสต้องห้ามของคำย่อสากล
- ห้ามใช้เป็นไปในแนวทางของธุรกิจหรือการค้าใด ๆ เด็ดขาด
- ไม่อนุญาตให้ใช้วิทยุสื่อสารแบบสมัครเล่น ในด้านการส่งข่าวสารไปสู่บุคคลที่ 3
ข้อกำหนดและข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน วิทยุสื่อสารสมัครเล่น ยังมีอีกหลายรูปแบบ เช่น การห้ามใช้ถ้อยคำหยาบคาย, ห้ามปล่อยข่าวลือที่ไม่เป็นจริง, ห้ามมีรายการโฆษณาและบันเทิงใด ๆ, ต้องไม่จงใจที่จะปล่อยคลื่นไปรบกวนสถานีอื่น เป็นต้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้ผู้ที่เป็นนักวิทยุสมัครเล่นจะต้องรู้ไว้!