richwave_logo

ทำความรู้จัก วิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย เพื่อการใช้งานอย่างมั่นใจ

ทำความรู้จัก วิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย เพื่อการใช้งานอย่างมั่นใจ

การใช้งานวิทยุสื่อสารของบุคคลทั่วไป มีทั้งรูปแบบการใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทางแบบหมู่คณะ, การใช้งานทั่วไปจากบุคคลธรรมดา และการใช้งานเชิงพาณิชย์ แต่ด้วยคลื่นความถี่ของวิทยุสื่อสารอาจกลายเป็นดาบ 2 คม โดยเฉพาะการจูนติดคลื่นวิทยุของทางราชการ จึงทำให้มีการออก พ.ร.บ เพื่อขอนุญาตใช้งาน วิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย ซึ่งจะมีเนื้อหาหลักที่น่าสนใจ คือ

  • หน่วยงานที่สามารถใช้ วิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย แบบสังเคราะห์คลื่นความถี่ประเภทที่ 1 โดยจะมีลักษณะที่ผู้ใช้งานสามารถตั้งจากความถี่ได้เอง จากภายนอกของเครื่อง จะเป็นเพียงแค่หน่วยงานถวายความปลอดภัย, การอารักขาบุคคลสำคัญ, การใช้งานของหน่วยปราบปรามและป้องกันผู้กระทำผิด ที่ส่งผลกระทบต่อความสงบของประเทศ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ด้านรักษาความมั่นคงของประเทศเท่านั้น
  • การใช้สิทธิ์เครื่องวิทยุแบบสังเคราะห์ความถี่ในประเภทที่ 2 จะเป็นหน่วยงานราชการที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ และหน่วยงานด้านรัฐวิสาหกิจทั้งหมด
  • ผู้ที่ประกอบการเป็นอาสาสมัครกู้ภัย กลุ่ม อปพร หรืออาสาสมัครทุกประเภท ทุกหมู่เหล่า จะอนุญาตให้ใช้เป็น วิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย สังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 เท่านั้น! แต่จะต้องเป็นชนิดที่ตั้งความถี่จากเครื่องคอมพิวเตอร์
  • กลุ่มวิทยุสื่อสารทั่วไป ที่มีกำลังการส่งคลื่นวิทยุไม่เกินไปกว่า 0.5 วัตต์ หรือ 245 MHz ใช้รับส่งด้วยระยะทางประมาณ 1-3 กิโลเมตร ภายในพื้นที่โล่ง ส่วนพื้นที่อับสัญญาณจะใช้ได้ในระยะทาง 1-2 กิโลเมตร ถูกใช้จากบุคคลทั่วไปเพื่อการติดต่อสื่อสาร รับฟังได้ทั้งหมดที่ 80 ช่องความถี่ โดยจะเป็นรูปแบบวิทยุความถี่ประชาชนเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตแต่อย่างใด

กลุ่มสุดท้ายที่เป็น วิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย ทั่วไปแบบบุคคล และใช้คลื่นความถี่ประชาชนในขนาด 245 MHz จะได้รับความนิยมใช้งานจากกลุ่มผู้เดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัด, กลุ่มเดินป่า, การใช้ประสานงานต่าง ๆ ภายในครอบครัว และกลุ่มธุรกิจ, โรงงาน และอาสาสมัคร จะเป็นในรูปแบบนี้ทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะใช้เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน และสื่อสารของกลุ่มคนเป็นหลัก