richwave_logo

วิทยุสื่อสาร

  การที่คุณจะสามารถใช้ วิทยุสื่อสารย่านดำ ได้นั้น คุณจำเป็นต้องมีอาชีพข้าราชการ, อาสาสมัครของมูลนิธิต่าง ๆ หรือ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเอกชนที่ กสทช.อนุญาตเท่านั้น ใครที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ สามารถใช้งานได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตแต่อย่างใด แต่ก็จำเป็นต้องพกบัตรประจำตัวที่ทางหน่วยงานออกให้ไว้ด้วย เพื่อใช้ในการยืนยันตน แต่หากคุณเป็นประชาชนทั่วไปที่ชื่นชอบการใช้งานวิทยุสื่อสาร และต้องการจะใช้งาน วิทยุสื่อสารย่านดำ ในย่านความถี่ 144.000-146.000 MHz. ก็สามารถไปสอบ และอบรมวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น เพื่อเป็นนักวิทยุสมัครเล่น ได้โดยที่นักวิทยุสมัครเล่น ที่สอบผ่านแล้วต้องทำตามกฎดังนี้ วิทยุสื่อสารย่านดำ ที่พกพานั้นต้องเป็นเครื่องเฉพาะที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น เท่านั้น ไม่ควรเอาเครื่องวิทยุสื่อสารประเภท 2 มาดัดแปลง เพื่อให้สามารถใช้คลื่นสมัครเล่นได้ เพราะหากทำจะผิดกฎหมายฐาน” ทำ หรือดัดแปลงวิทยุสื่อสาร” ซึ่งโทษถือว่าหนักมาก ดังนั้นควรเช็กกับทางร้านให้ดี ก่อนจะตัดสินใจซื้อ เพราะว่าถ้าหากเรามีวิทยุสื่อสารที่ถูกดัดแปลงอยู่ จะมีโทษความผิด เพราะคุณถือเป็นผู้ครอบครองนั่นเอง นักวิทยุสมัครเล่นทุกคนต้องพกบัตรอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น หรือ ใบอนุญาตให้ใช้ ขณะพกพาวิทยุสื่อสารย่านดำ ตลอดเวลา ห้ามเปิดแบนด์ อย่างเด็ดขาดและใช้วิทยุสื่อสารที่ใช้ ต้องใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นคือ 000-146.000 MHz. ถ้าคุณสนใจอยากจะเป็นนักวิทยุสมัครเล่น หลังจากที่สอบเสร็จและได้รับอนุญาตอย่างถูกกฎหมายเป็นที่เรียบร้อย ก็สามารถหาซื้อวิทยุสื่อสารย่านดำ …

นักวิทยุสมัครเล่น ที่ใช้วิทยุสื่อสารย่านดำ มีกฎอะไรที่ต้องปฏิบัติบ้าง Read More »

  สำหรับประชาชนทั่วไปนั้นเราไม่สามารถที่จะใช้งาน วิทยุสื่อสารย่านดำ ได้เพราะว่าได้มีกฎหมายกำหนดไว้อยู่แล้วแต่หากต้องการที่จะใช้ สามารถใช้งานวิทยุสื่อสารสีแดง หรือ วิทยุสื่อสารสีเหลืองแทนได้ โดยวิทยุทั้งสองนั้นเป็นวิทยุที่ถูกอนุญาตให้ใช้งานได้อย่างอิสระ สำหรับประชาชน ในคลื่นความถี่ภาคประชาชน หรือที่เรียกว่า CB (Citizens band) ซึ่งจะจำแนกออกเป็นดังนี้ 1.วิทยุสื่อสารสีแดง เป็นวิทยุสื่อสารที่มีความถี่ภาคประชาชน โดยตัวเครื่องจะมีสีแดงเป็นหลักอย่างชัดเจน โดยจะมีย่านความถี่ที่ใช้อยู่ที่ 245 ถือเป็นคลื่นความถี่ของวิทยุสื่อสารที่คนไทยใช้มากที่สุด มีช่องใช้สามารถใช้งานเพื่อติดต่อสื่อสารได้มากถึง 80 ช่องความถี่ ทำให้สามารถในระยะของคุณนั้นโอกาสน้อยมากที่จะใช้คลื่นวิทยุสื่อสารตรงกัน ทำให้เราไม่จำเป็นเลยที่จะต้องใช้งาน วิทยุสื่อสารย่านดำ ซึ่งผิดกฎหมายสำหรับประชาชนทั่วไป โดยที่วิทยุสื่อสารสีแดงนั้นสามารถใช้ได้ทั้งใน ประชาชนทั่วไป ภาคเอกชน หรือหน่วยงานรัฐ ได้ 2.วิทยุสื่อสารสีเหลือง เป็นวิทยุสื่อสาร ที่มีความถี่ภาคประชาชน หรือที่เรียกว่า CB โดยวิทยุสื่อสารสีเหลืองนั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนักสำหรับคนไทย มักจะถูกใช้งานในกรณีที่ในย่านนั้นมีการใช้งานประสานงานในย่านความถี่ 245 MHz. หนาแน่น เพราะว่าวิทยุสื่อสารสีเหลืองนั้นมีความถี่อยู่ที่ 78 MHz. ทำให้ไม่โดนรบกวนจากวิทยุสื่อสารสีแดง และ วิทยุสื่อสารย่านดำ สุดท้ายแล้วหากคุณจำเป็นต้องใช้งานวิทยุสื่อสารไม่ว่าจะใช้เพื่อพูดคุยกับเพื่อน ครอบครัว หรือจะประสานงานต่าง ๆ ให้ใช้เป็นวิทยุสื่อสารสีแดงและเหลืองเท่านั้น เพราะว่าคุณไม่จำเป็นต้องสอบใบอนุญาตเพื่อใช้งาน …

ประชาชนทั่วไปห้ามใช้ วิทยุสื่อสารย่านดำ แล้วใช้วิทยุอะไรได้บ้าง Read More »

  การกำเนิด วิทยุสื่อสารสมัครเล่น มีมาอย่างยาวนาน จุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 ที่ใช้ในการค้นคว้าส่วนพระองค์ของพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ที่ได้มีการนำมาใช้ภายในกองช่างวิทยุ ของไปรษณีย์โทรเลข ใช้สำหรับการทดลอง เพื่อส่งวิทยุแบบความถี่สูง และติดต่อกับสถานีวิทยุสมัครเล่น จากทั้งในและต่างประเทศ สู่ปัจจุบันที่กลายเป็นช่องทางการติดต่อและสื่อสาร ด้านการศึกษา การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การส่งเสริมในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คนทั่วไป ซึ่งถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการใช้งานวิทยุสมัครเล่น ขอแนะนำเรื่องน่ารู้ต่อไปนี้ การจัดตั้งและเป็นนักวิทยุสื่อสารสมัครเล่น ต้องผ่านการสอบขั้นต้น และการทำแบบฟอร์มหนังสือรับรองสถานะการเป็นสมาชิกสมาคมก่อนเท่านั้น ผู้ที่ต้องการเป็นนักวิทยุสมัครเล่น จะต้องผ่านการตรวจสอบ และกำกับดูแลจาก กสทช เท่านั้น การมีกิจการวิทยุสมัครเล่น จะต้องเป็นไปในแนวทางสร้างประโยชน์ แจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน การพัฒนาความรู้ความสามารถ การฝึกฝน หรือการเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไป การใช้ วิทยุสื่อสารสมัครเล่น สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ด้านการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ด้วยการจัดทำช่องเพื่อแพร่หลายไปสู่วงการวิทยุระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี ผู้ที่จะสามารถเข้าเป็นนักวิทยุสมัครเล่นได้ จะต้องมีสัญชาติไทยและมีคุณสมบัติตรงตามกำหนดของ กสทช ข้อห้ามสำคัญ คือ การใช้วิทยุสมัครเล่นที่ต้องไม่ติดต่อไปยังประเทศที่ไม่ได้รับอนุญาตเด็ดขาด ห้ามการใช้รหัสลับใด ๆ เพื่อการติดต่อสื่อสารออกไปนอกประเทศ และต้องระมัดระวังรหัสที่อาจกลายเป็นรหัสต้องห้ามของคำย่อสากล ห้ามใช้เป็นไปในแนวทางของธุรกิจหรือการค้าใด ๆ …

เรื่องน่ารู้! เกี่ยวกับการใช้งานวิทยุสื่อสารสมัครเล่น Read More »

  การเรียนรู้ของคนในสังคม มีความหลากหลายสูง พร้อมการมีความสนใจในเรื่องราวต่าง ๆ ที่อาจจะตรงกัน จนกลายเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น จุดนี้เองจึงมีการจัด วิทยุสื่อสารสมัครเล่น เพื่อการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการสร้างโลกแห่งการศึกษาร่วมกัน แล้วจักมาเป็นคลื่นความถี่ที่สามารถเข้ารับฟังเรื่องที่สนใจเป็นพิเศษได้ตลอด ซึ่งรายละเอียดสำคัญของการใช้งานวิทยุสื่อสารในประเภทนี้ คือ การใช้ วิทยุสื่อสารสมัครเล่น หรือ Amateur Radio (AR) จะเป็นการนำคลื่นความถี่วิทยุ ที่ให้บริการแบบกิจการสากล และมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาชนทั่วไป นิยมใช้สำหรับการศึกษา การส่งเสริมด้านวัฒนธรรม จิตอาสา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือการพูดคุยเพื่อ วัฒนธรรมระหว่างท้องถิ่น แล้วนำไปสู่แนวทางการพัฒนาต่อไป วิทยุสื่อสารประเภทนี้ จะไม่ถูกใช้ในงานเพื่อธุรกิจการค้า การเริ่มต้นใช้ครั้งแรก เป็นการใช้เพื่อสื่อสารแบบคลื่นสั้น ภายในกองช่างวิทยุของไปรษณีย์โทรเลข เหมาะสำหรับผู้ที่มีความสนใจ ด้านการติดต่อสื่อสารและการรวมกลุ่มของผู้ที่มีความสนใจ ด้านการศึกษา การช่วยเหลือทางสังคม หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใด ๆ ในแบบเดียวกัน ในอดีตถ้าเป็นการติดต่อคลื่นสัญญาณแบบระยะทางไกล จะนิยมใช้การสื่อสารจากรหัสมอร์ส การจะขึ้นเป็นนักวิทยุสื่อสารสมัครเล่น ต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานที่ดูแล และกำกับด้านกิจการวิทยุสมัครเล่นโดยเฉพาะ หรือการผ่านทดสอบจาก กสทช.มาก่อน การใช้ วิทยุสื่อสารสมัครเล่น จะสร้างประโยชน์ต่อตัวคุณและสังคม แต่จะมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงต้องมีการดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย …

ทำความรู้จักวิทยุสื่อสารสมัครเล่น รวมกลุ่มคนสนใจในด้านเดียวกัน มาไว้ในคลื่นเดียว Read More »

การใช้งาน วิทยุสื่อสารราคาถูก จะเป็นตัวช่วยให้การสั่งงาน หรือการพูดคุยกันในพื้นที่ใกล้เคียง มีความสะดวกมากขึ้น โดยจะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพันปลาย ๆ ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป รวมถึงปัจจัยเรื่องวัสดุที่ถูกใช้ในการผลิตวิทยุที่จะต่างตามราคาด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้าคุณสนใจจะซื้อวิทยุสื่อสารเพื่อใช้ให้ตอบโจทย์ ในราคาไม่แรงมาก ขอแนะนำวิธีการเลือกซื้อให้เหมาะสมต่อความต้องการ และราคาตรงงบ ดังนี้ รู้ก่อนว่า วิทยุสื่อสารราคาถูก จะนิยมใช้ในงานทั่วไป งานภาคประชาชน รับส่งสัญญาณได้ไม่ไกลมาก และมีคลื่นความถี่ที่ถูกกำหนดให้ใช้ในช่องวิทยุชุมชนเท่านั้น เลือกเครื่องวิทยุให้ตรงกับโจทย์การใช้งาน เช่น การเดินทาง พกพา ต้องใช้เครื่องน้ำหนักเบา หรือ การใช้งานในโกดังเก็บสินค้า คลื่นสัญญาณต้องแรงขึ้นมาอีกนิดและแข็งแรงทนทาน เป็นต้น เลือกตามฟังก์ชั่นการใช้งาน บางเครื่องอาจมีการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้ หรือสามารถปรับเสาสัญญาณ เพื่อรับคลื่นที่แรงขึ้นได้ เป็นต้น เลือกซื้อวิทยุสื่อสารราคาถูก จากร้านที่ไว้วางใจได้ แนะนำดี ให้ความรู้ครบครันทุกด้าน เพื่อการใช้งานที่ถูกต้องและเหมาะสม ที่สำคัญคือต้องมีใบรับประกันสินค้า การใช้งาน วิทยุสื่อสารราคาถูก ในรูปแบบภาคประชาชน ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากทาง กสทช. แต่อย่างใด เพราะคลื่นที่รับจะเป็นเพียงคลื่นทั่วไป ไม่สามารถรับคลื่นทางราชการได้อยู่แล้ว จึงถือเป็นหนึ่งในรูปแบบวิทยุสื่อสารที่หาซื้อได้ง่าย เพียงเลือกร้านที่ขายสินค้าได้มาตรฐาน ให้คำแนะนำตรงไปตรงมา เท่านี้การซื้อไปใช้งานจะเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น

วิทยุสื่อสารราคาถูก มีขายอยู่ภายในโลกออนไลน์จำนวนมาก พร้อมให้การใช้งานที่ดีไม่แพ้กับเครื่องที่มีราคาสูง เพียงแต่ผู้ใช้อาจจะต้องเลือกให้เหมาะสมต่อการใช้งานส่วนตัว ที่สำคัญคือการดูรายละเอียดต่าง ๆ ของวิทยุสื่อสารที่คุณต้องการใช้ให้ดี เมื่อซื้อมาแล้ว รับรองว่าจะช่วยเพิ่มประโยชน์ให้กับคุณอย่างแน่นอน การซื้อวิทยุสื่อสารราคาถูก คุณจำเป็นจะต้องเลือกจากการใช้งานส่วนตัวไปหลัก เพื่อทำให้คุณสามารถนำมาเลือกเครื่องที่มีคลื่นความถี่ และมีรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเครื่อง ที่เหมาะสมต่อความต้องการมากที่สุด โดยจะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่นบาท แต่แนะนำให้ซื้อในช่วงราคาหลัก 1,000 บาทขึ้นไป เพราะจะการันตีเครื่องที่มีคุณภาพ ให้การสื่อสารที่มีความคมชัด และมีการระบุรายละเอียดการใช้งานวิทยุสื่อสารราคาถูกอย่างถูกต้อง มีใบอนุญาตให้ใช้และพกพาได้ โดยจะติดมากับตัวเครื่อง เป็นการอนุญาตจากทาง กสทช. ซึ่งเครื่องวิทยุสื่อสารลักษณะนี้ จะเป็นกลุ่มคลื่นวิทยุสำหรับประชาชนทั่วไป มีขนาดเล็ก พกพาได้สะดวก ใช้คลื่นความถี่เดียวกัน และจะใช้คลื่นเริ่มต้นที่ 245 MHz ถ้าคุณต้องการเลือกซื้อวิทยุสื่อสารราคาถูก แนะนำร้านที่มีหลายแบรนด์ของวิทยุสื่อสาร นำเสนอให้คุณได้เลือกซื้ออย่างเหมาะสม โดยให้เริ่มต้นที่ 0.5 วัตต์ จะทำให้การรับส่งสัญญาณมีความคมชัดมากขึ้น โดยทางร้านค้าจะต้องระบุรายละเอียดของแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อไว้ชัดเจน มีความเป็นจริง และราคาที่เหมาะสม พร้อมการมีใบรับรองการใช้งาน และมีการระบุวิธีใช้เพื่อรับส่งสัญญาณให้ครบ เช่น ใช้ได้ไม่เกิน 500 เมตร ถึง 1 กิโลเมตร …

วิทยุสื่อสารราคาถูก ใช้งานได้ดี มีอยู่จริง! เพียงเลือกให้เหมาะสมต่อการใช้จริง Read More »

วิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย ถูกออกเป็น พ.ร.บ.อย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดการใช้งานที่เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะในกลุ่มหน่วยงานราชการและความมั่นคงของประเทศ จะมีคลื่นความถี่วิทยุเป็นของตัวเอง และบุคคลทั่วไปจะไม่สามารถเข้าถึงคลื่นความถี่นี้ได้ ดังนั้นจึงเกิดเป็นวิทยุสื่อสารที่ถูกใช้งานของกลุ่มบุคคล โดยจะใช้ประโยชน์ภายในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นกลุ่มวิทยุสื่อสารที่ได้รับความนิยม ภายในกลุ่มธุรกิจรักษาความปลอดภัย, โรงงานอุตสาหกรรม, ธุรกิจต่าง ๆ ที่จะต้องมีการพูดคุยระหว่างกลุ่มพนักงานเพื่อสั่งงาน รวมไปถึงกลุ่มอาสาสมัครอีกด้วย วิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย ของบุคคลทั่วไปจะต้องเป็น เครื่องที่มีความถี่ 245 MHz เท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะได้รับความนิยมใช้ในย่านความถี่ VHF ช่วงสูง การใช้งานจะเน้นไปทางความถี่ UHF หรือคลื่นที่มีความยาวแบบคลื่นน้อย จึงกระจายออกเป็นแนวเส้นตรง เมื่อพบกับสิ่งกีดขวางใด ๆ จึงอาจเกิดเป็นการสะท้อนกลับ ลักษณะจะเป็นสายหรือเสาอากาศที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และพื้นที่การรับสัญญาณจะไปได้ไกลที่สุดประมาณ 3 กิโลเมตรบนพื้นที่โล่ง แต่ถ้ามีสิ่งกีดขวาง หรืออยู่ภายในอาคาร อาจจะใช้ได้ในระยะเพียง 2 กิโลเมตร แต่ถ้าเมื่อใดที่สามารถรับสัญญาณได้ชัดเจน จะพูดคุยหรือสั่งงานต่าง ๆ ได้คมชัดมาก พร้อมการมีคุณสมบัติเด่นที่รับฟังช่องความถี่ได้สูงสุดถึง 80 ช่อง และแบ่งปันใช้ช่องความถี่นี้ได้ฟรี แต่จะเป็นการใช้ตามหลักของกิจการวิทยุคลื่นความถี่ประชาชนเท่านั้น การใช้งานวิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย จึงเน้นเป็นการใช้สำหรับประชาชนทั่วไป และจุดเด่นสำคัญของวิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย แบบบุคคล คือ …

การใช้งาน วิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย ของบุคคลทั่วไป มีลักษณะเป็นอย่างไร? Read More »

การใช้งานวิทยุสื่อสารของบุคคลทั่วไป มีทั้งรูปแบบการใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทางแบบหมู่คณะ, การใช้งานทั่วไปจากบุคคลธรรมดา และการใช้งานเชิงพาณิชย์ แต่ด้วยคลื่นความถี่ของวิทยุสื่อสารอาจกลายเป็นดาบ 2 คม โดยเฉพาะการจูนติดคลื่นวิทยุของทางราชการ จึงทำให้มีการออก พ.ร.บ เพื่อขอนุญาตใช้งาน วิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย ซึ่งจะมีเนื้อหาหลักที่น่าสนใจ คือ หน่วยงานที่สามารถใช้ วิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย แบบสังเคราะห์คลื่นความถี่ประเภทที่ 1 โดยจะมีลักษณะที่ผู้ใช้งานสามารถตั้งจากความถี่ได้เอง จากภายนอกของเครื่อง จะเป็นเพียงแค่หน่วยงานถวายความปลอดภัย, การอารักขาบุคคลสำคัญ, การใช้งานของหน่วยปราบปรามและป้องกันผู้กระทำผิด ที่ส่งผลกระทบต่อความสงบของประเทศ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ด้านรักษาความมั่นคงของประเทศเท่านั้น การใช้สิทธิ์เครื่องวิทยุแบบสังเคราะห์ความถี่ในประเภทที่ 2 จะเป็นหน่วยงานราชการที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ และหน่วยงานด้านรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ผู้ที่ประกอบการเป็นอาสาสมัครกู้ภัย กลุ่ม อปพร หรืออาสาสมัครทุกประเภท ทุกหมู่เหล่า จะอนุญาตให้ใช้เป็น วิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย สังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 เท่านั้น! แต่จะต้องเป็นชนิดที่ตั้งความถี่จากเครื่องคอมพิวเตอร์ กลุ่มวิทยุสื่อสารทั่วไป ที่มีกำลังการส่งคลื่นวิทยุไม่เกินไปกว่า 0.5 วัตต์ หรือ 245 MHz ใช้รับส่งด้วยระยะทางประมาณ 1-3 กิโลเมตร ภายในพื้นที่โล่ง ส่วนพื้นที่อับสัญญาณจะใช้ได้ในระยะทาง 1-2 กิโลเมตร ถูกใช้จากบุคคลทั่วไปเพื่อการติดต่อสื่อสาร …

ทำความรู้จัก วิทยุสื่อสารถูกกฎหมาย เพื่อการใช้งานอย่างมั่นใจ Read More »

อุปกรณ์วิทยุสื่อสาร เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยให้การสื่อสารสะดวกและรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าโทรศัพท์เป็นจำนวนมาก ไม่จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เนต แม้จะเป็นพื้นที่อับสัญญาณมือถือ ก็สามารถใช้อุปกรณ์นี้ในการติดต่อได้ ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาวิทยุสื่อสารให้มีความทันสมัยมากกว่าเดิม ดังนั้นเราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับวิทยุระบบดิจิทัล เครื่องมือรับส่งสัญญาณที่น่าสนใจ และกำลังได้รับความนิยมในภาคอุตสาหกรรม และการใช้งานในประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก วิทยุสื่อสารระบบดิจิทัลเป็นอย่างไร? วิทยุสื่อสารระบบดิจิทัล(DTRS) หรือเรียกชื่อเต็ม ๆ ว่า วิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบดิจิทัล ซึ่งมีคุณสมบัติที่โดดเด่นดังนี้ 1.เป็นระบบ Nationwide Digital Trunked Radio ซึ่งให้การกระจายสัญญาณครอบคลุมในระยะไกล มากกว่าแบบอนาล็อก 2.มีจุดเด่นคือ “แม่ข่าย” ทำหน้าที่ให้บริการเฉพาะกลุ่ม ช่วยให้ข้อมูลการติดต่อรับส่งสัญญาณข่าวสารต่าง ๆ เป็นส่วนตัวมากกว่าเดิมหลายเท่า จึงเหมาะกับการใช้งานแบบเฉพาะกลุ่ม เพราะเก็บความลับได้ดี 3.ระบบการทำงานของคลื่นดิจิทัลจะใช้การแปลงคลื่นสียงเป็นเลขฐานสอง แล้วทำการเข้ารหัส ส่งออกไปยังภาครับ เพื่อถอดรหัสกลับออกมาเป็นสัญญาณเสียงตามเดิม 4.ใช้งานได้ทั่วไป ทั้งในสภาวะปกติและกรณีที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ขึ้น ระบบการเชื่อมต่อทนทาน คลื่นชัดเจน แทบจะไม่มีคลื่นแทรกที่มักได้ยินเป็นเสียงซ่า เพราะใช้ระบบการเข้ารหัสผ่านดาวเทียม 5.ตัวเครื่องรุ่นที่แพงขึ้นมาสักหน่อย จะมีระบบ GPS สามารถใช้ติดตามตำแหน่ง ระบุที่อยู่ สามารถมองเห็นความเร็วการเคลื่อนที่ของเครื่องได้แบบทันที ซึ่งจะนำมาประยุกต์ใช้ในการควบคุม และใช้แจ้งเตือนต่าง ๆ เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่จำเป็นต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยในพื้นที่เสี่ยงอันตรายสูง …

ทำความรู้จักอุปกรณ์วิทยุสื่อสารระบบดิจิทัล มีข้อดีอะไรบ้าง? Read More »

อุปกรณ์วิทยุสื่อสาร เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับการติดต่อกับผู้อื่นภายในพื้นที่ ๆ ไม่ไกลกันมากนัก เช่น ภายในอาคารสำนักงาน, ออฟฟิศ, พื้นที่กลางแจ้ง หรือการใช้ติดต่อกับสมาชิกในกรณีที่มีคนจำนวนมากอยู่ในพื้นที่ จนทำให้การเดินตามหากันลำบาก อุปกรณ์นี้จะช่วยให้การเข้าถึงกันได้ง่าย จัดการงานและสื่อสารกันได้รวดเร็วทันใจ กระชับสั้นได้ใจความ และพกพาง่าย ระบบเครื่องมีการติดต่อโดยไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ ไม่ต้องใช้สัญญาณอินเตอร์เนตที่อาจล่าช้า ใช้ได้แม้กระทั่งในพื้นที่อับสัญญาณมือถือ ดังนั้นเพื่อความเข้าใจในระบบการใช้งานให้มากขึ้น ควรรู้จักหลักการส่งสัญญาณของตัวเครื่องทั้งผู้รับและผู้ส่ง จะได้รู้วิธีใช้ให้ได้ประโยชน์และราบรื่นมากที่สุด ระบบการทำงานโดยรวมของ อุปกรณ์วิทยุสื่อสาร 1.การทำงานระหว่างภาครับและภาคส่ง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้การส่งสัญญาณผ่านกระแสไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็ก ตัวเครื่องจะมีสายอากาศ ซึ่งใช้แผ่กระจายคลื่นวิทยุ เรียกได้ว่าเป็นการสื่อสาร “กึ่งสองทาง” 2.เมื่อมีการเปิดใช้งาน ระบบจะทำการแปลงกระแสไฟฟ้าให้กลายเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณจะถูกส่งผ่านสายอากาศไปยังเครื่องรับ 3.แหล่งพลังงานหลักมาจากแบตเตอรี่ และแบบไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทั้งสองประเภทมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ส่วนประกอบและการทำงาน ส่วนประกอบหลักแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน นั่นก็คือ 1.ตัวเครื่องวิทยุ เป็นตัวหลักที่ใช้สำหรับการสื่อสาร ภายในบรรจุแผงวงจรและอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการติดต่อ ซึ่งมีแผงวงจรการทำงานด้านใน โดยจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ยี่ห้อและรุ่น 2.แหล่งกำเนิดพลังงาน ตามที่กล่าวไปข้างต้น แหล่งพลังงานที่นิยมใช้คือแบตเตอรี่แบบแพ็คติดอยู่กับเครื่อง สามารถพกพาได้สะดวก เมื่อแบตฯ หมด สามารถถอดออกมาชาร์จไฟได้ …

การทำงานของอุปกรณ์วิทยุสื่อสาร และหลักการส่งสัญญาณ Read More »